ข้อสอบวิชาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา


1. เทคโนโลยีคืออะไร


เทคโนโลยี คือ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์
คำว่า เทคโนโลยี ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่า เป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น
“เทคโนโลยี” มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำและพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น
เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง ิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why) เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับ
เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาตั้งแต่ยุคโบราณ
ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก
วิทยาการและความล้ำหน้าทางเทคโนโลยี
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เป็นที่สนใจของคนทุกมุมโลกทุกสาขา เทคโนโลยีจึงเป็นที่แพร่หลายและถูกนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานและดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนการศึกษาในสมัยนี้จึงมีหลักสูตรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้าไปด้วย หากถามว่าเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุดและคนทั้งโลกให้ความสำคัญมากที่สุดคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคือเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรารู้จักกันดีคือคอมพิวเตอร์เพราะปัจจุบันนี้เรามองไปทางไหนก็น่าจะมีอะไรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศไปหมด ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ มือถือ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์เตอร์ PDA GPS ดาวเทียม ก็ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ และไม่นานมานี้ได้มีการออก พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นการบ่งบอกว่าสังคมให้ความสำคัญแก่คอมพิวเตอร์

2. การศึกษากับการเรียนรู้ต่างกันอย่างไร

การศึกษา

ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นแผนแม่บทด้านการศึกษาของประเทศ และในมาตรา 4 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ดังนี้
การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้นั้นเกิดกับบุคคล และสังคม ถ้าเราถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น การเรียนรู้ ก็คือการเรียนรู้ของคนในสังคมนั่นเอง
การเรียนรู้ทำได้หลายวิธี มีได้หลายรูปแบบ การเรียนรู้คือการสร้างสรรค์ที่จรรโลงความก้าวหน้า คือครีเอทีฟ เพื่อความก้าวหน้า และการเรียนรู้คือการสร้างองค์ความรู้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ใหม่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นต้องการการเรียนรู้ที่เน้นและให้ความสำคัญ กับการสร้างสรรค์มาก หมายความว่า การเรียนรู้นั้น เราสามารถสร้างองค์ความรู้ได้จากทุกสิ่งทุกอย่าง ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างประเทศไทยกับสหราชอาณาจักรในครั้งนี้
ถ้าเรามองว่าการศึกษาคือการสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ จากรายงานจะพบว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และเศรษฐกิจของโลกขึ้นอยู่กับผลงานสร้างสรรค์ หลายหมื่นล้านปอนด์ นั่นหมายความว่าราคาของความสร้างสรรค์มีมูลค่าสูงมาก ถ้านับรวมทั้งโลกจะสูงถึงล้าน ล้าน ล้านทีเดียว เพราะฉะนั้นโลกปัจจุบันจึงเป็นโลกของการเรียนรู้โดยการสร้างสรรค์ ที่เรามาพูดกันในวันนี้

เมื่อได้ความหมายของการศึกษา ว่าหมายถึงการศึกษาเชิงสร้างสรรค์แล้ว ในมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บอกจุดประสงค์ของการเรียนรู้ไว้อย่างชัดเจนว่า กระบวนการเรียนรู้นั้นเน้นการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา จนถึงภูมิปัญญา และวิทยาศาสตร์

วันนี้เรามีโอกาสได้ฟังผู้เชี่ยวชาญมานำเสนอให้เราเห็นว่า การศึกษาในเชิงสร้างสรรค์ จะนำไปใช้ในสาขาต่างๆ ได้อย่างไร ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ จะสร้างสรรค์ได้อย่างไร สร้างความรู้ได้อย่างไร สาขาศิลปะ ที่ต้องมีความคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี หรือการเขียน ที่ต้องมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการเรียงร้อยสิ่งต่างๆ ในการนำเสนอ เห็นได้ชัดว่า มาตรา 4 และมาตรา 7 จะช่วยให้การศึกษาไม่แห้งแล้ง แต่จะเป็นการเรียนรู้ที่มีความสุข และสนุกสนาน และท้ายที่สุดสิ่งที่เราสร้างสรรค์อย่างมีความสุขนั้น จะกลายมาเป็นทรัพย์สมบัติ สิทธิสมบัติของเราอย่างชัดเจน

ดังนั้น การเรียนอย่างสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นเรื่องเดียวกัน ในประเทศไทยอาจไม่ค่อยมี แต่ในต่างประเทศ เราพบเสมอๆ ว่าเด็กมีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน และทำงานตั้งแต่อายุน้อยๆ หากเราสามารถพัฒนาการเรียนแบบสร้างสรรค์ได้ การเรียนกับการทำงานจะเป็นการบูรณาการในเรื่องเดียวกัน

การศึกษาระบบใหม่เป็นระบบที่เหมาะ และยืดหยุ่นให้กับการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก เพราะการศึกษาไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในห้องเท่านั้น นอกจากนี้ มาตรา 12 ยังเปิดโอกาสให้คนที่เข้ามาจัดการศึกษานั้นมีมากมาย หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ครอบครัว หรือสถาบันศาสนา และสิ่งสำคัญคือการศึกษาใหม่ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นมีถึง 3 ระบบคือ การศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non-Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) และกฎหมายได้กำหนดให้ระบบการศึกษาทั้ง 3 ระบบสามารเทียบโอนการศึกษากันได้ นี่คือความยืดหยุ่น เป็นการลดความแข็งของระบบการศึกษา เพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ความคิดริเริ่ม" และ "สร้างสรรค์"

นอกจากนี้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ยังมีสิ่งที่โดดเด่นมากคือในมาตรา 22 ที่เปลี่ยนความเชื่อและหลักการเกี่ยวกับผู้เรียนค่อนข้างมาก โดยเชื่อว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ ซึ่งหมายความว่าเราเชื่อในพลังแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียน เชื่อในพลังแห่งการสร้างสรรค์ของแต่ละคน ซึ่งนับว่าเป็นความเชื่อที่ยิ่งใหญ่มาก ประการต่อมาเราเชื่อว่าผู้เรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพของตัวเองได้ การศึกษาเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน

ถ้าเรามองว่าการศึกษาเชิงสร้างสรรค์เป็นรูปแบบและวิธีการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ในมาตรา 4 และมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เราสามารถบูรณาการเข้ากับเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างไร วันนี้จะมีตัวอย่างการบูรณาการในวิชาวิทยาศาสตร์ และศิลปะ

มาตรา 24 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเนื้อหาวิชาไว้อย่างสมบูรณ์ และชัดเจน และในมาตรา 24(5) กำหนดวิธีการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาพลังแห่งการสร้างสรรค์ให้เป็นระบบ เพราะการวิจัยเป็นการทำงานโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ นอกจากนี้ในมาตรา 25 กล่าวถึง แหล่งเรียนรู้ ว่ามิได้จำกัดตายตัวอยู่แต่เพียงในห้องเรียน สถานที่ต่างๆ เช่น ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ ก็ถือเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญเช่นกัน

แต่เดิมเราเคยมีปัญหาเกี่ยวกับข้อกำหนดของหลักสูตร แต่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้หลักสูตรมี 2 ระบบ คือ หลักสูตรกลาง หรือหลักสูตรชาติ และหลักสูตรของโรงเรียนที่พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการและศักยภาพของผู้เรียน และชุมชน

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดให้การปฏิรูปการศึกษา เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ ทำอย่างไรจึงมีการเรียนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างพลังศักยภาพของสังคมของคนไทย

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในฐานะของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของชาติ จึงสนใจและทำการศึกษาเรื่อง "การศึกษาเชิงสร้างสรรค์" นี้ เพื่อให้นโยบายด้านการศึกษาของชาติ สามารถพัฒนาเป็นแผนโดยการบูรณาการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์นี้ให้เข้ากับรายวิชาต่างๆ ได้อย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์


การเรียนรู้

การเรียนรู้ (Learning) ความหมายของการเรียนรู้ การเรียนรู้ (Learning) คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มาจากภาวะชั่วคราว วุฒิภาวะ หรือสัญชาตญาณ(Klein 1991:2) ความหมายของการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร โดยเป็นผลจากการฝึกฝนเมื่อได้รับการเสริมแรง มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติที่เรียกว่า ปฏิกิริยาสะท้อน (Kimble and Garmezy) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันเป็นผลจากการฝึกฝนและประสบการณ์ แต่มิใช่ผลจากการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Hilgard and Bower) การเรียนรู้เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา (Cronbach) การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตามสถานการณ์ต่าง ๆ จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายตามที่แต่ละบุคคลได้ตั้งไว้ (Pressey, Robinson and Horrock, 1959) ความหมายของการเรียนรู้ (Mednick, 1959) 1. การเรียนรู้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 2. การเรียนรู้เป็นผลจากการฝึกฝน 3. การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรจนเป็นนิสัย มิใช่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซื่อตรง 4. การเรียนรู้ไม่อาจสังเกตได้โดยตรง แต่ทราบจากการกระทำที่เป็นผลจากการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า การเรียนรู้หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่เป็นผลจากการตอบสนองตามธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ หรือวุฒิภาวะ หรือพิษยาต่าง ๆ หรืออุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เมื่อบุคคลเกิดการเรียนรู้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ (Bloom, 1959) 1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ ความเข้าใจ และความคิด (Cognitive Domain) หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระใหม่ ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้มากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ทัศนคติ ค่านิยม (Affective Domain) หมายถึง เมื่อบุคคลได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกทางด้านจิตใจ ความเชื่อ ความสนใจ 3. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านความชำนาญ (Psychomotor Domain) หมายถึง การที่บุคคลได้เกิดการเรียนรู้ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจ และเกิดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ความสมใจด้วยแล้ว ได้นำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติ จึงทำให้เกิดความชำนาญมากขึ้น เช่น การใช้มือ เป็นต้น ธรรมชาติของการเรียนรู้เป็นกระบวนการชนิดหนึ่ง ประกอบด้วย (Cronbach, 1959) 1. จุดมุ่งหมายของผู้เรียน (Goal) หมายถึงสิ่งที่ผู้เรียนต้องการหรือสิ่งที่ผู้เรียนมุ่งหวัง การเรียนอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย คือไม่ทราบว่าจะเรียนไปทำไม ย่อมจะไม่บังเกิดผลดีขึ้นได้ ครูควรชี้ให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายในการเรียนวิชาต่าง ๆ ว่าคืออะไร เพื่ออะไร 2. ความพร้อม (Readiness) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของนักเรียนหรือผู้เรียนแต่ละคนหมายรวมถึงวุฒิภาวะของผู้เรียนด้วย คนที่มีความพร้อมจะเรียนได้ดีกว่าทั้ง ๆ ที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน จึงควรสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับนักเรียนเพื่อให้เขาพร้อมที่จะเรียนได้ 3. สถานการณ์ (Situation) หมายถึง สิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระทำต่อผู้เรียน เช่น การเรียนการสอน สถานการณ์ต่าง ๆ ฯลฯ คนหรือสัตว์จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อได้เข้าไปมีประสบการณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างแท้จริง 4. การแปลความหมาย (Interpretation) เป็นการศึกษาหาลู่ทางในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่เพื่อเข้าไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือการวางแผนการกระทำเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยพิจารณานำสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ การจะบรรลุจุดมุ่งหมายนั้นอาจมีหลายวิธี และอาจจะมีวิธีหนึ่งที่ดีที่สุด การที่คนจะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการแปลความหมายเป็นสำคัญ 5. ลงมือกระทำ (Action) เมื่อแปลสถานการณ์แล้ว ผู้เรียนจะลงมือตอบสนองสถานการณ์หรือสิ่งเร้าในทันที การกระทำนั้นผู้เรียนย่อมจะคาดหวังว่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เขาบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ 6. ผลที่ตามมา (Consequence) หลังจากตอบสนองสิ่งเร้าหรือสถานการณ์แล้ว ผลที่ตามมาคือ อาจจะประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย จะเกิดความพอใจ (Confirm) ถ้าไม่ประสบผลสำเร็จย่อมไม่พอใจ ผิดหวัง (Contradict) ถ้าประสบผลสำเร็จก็จะเป็นแรงจูงใจให้ทำกิจกรรมอย่างเดิมอีก ถ้าไม่บรรลุจุดมุ่งหมายอาจหมดกำลังใจ ท้อแท้ที่จะตอบสนองหรือทำพฤติกรรมต่อไป 7. ปฏิกิริยาต่อความผิดหวัง (Contradict) ซึ่งจะกระทำใน 2 ลักษณะคือ ปรับปรุงการกระทำของตนใหม่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยย้อนไปพิจารณาหรือแปลสถานการณ์หรือสิ่งเร้าใหม่ แล้วหาวิธีกระทำพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทางให้ได้ อีกประการหนึ่ง อาจเลิกไม่ทำกิจกรรมนั้นอีก หรืออาจจะกระทำซ้ำ ๆ อย่างเดิมโดยไม่เกิดผลอะไรเลยก็ได้ http://gotoknow.org/blog/useit/44534 ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theoryleaning) การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอาจมี 3 ด้านดังนี้ (ตามหลัก Bloom) 1. พฤติกรรมด้านสมอง (Cognitive Domain) ได้แก่ ความรู้ – จำ ความเข้าใจ 2. พฤติกรรมด้านจิตใจ (Affective Domain) ได้แก่ อารมณ์ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติ 3. พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory leaning) แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ 1. ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Associative) การเรียนรู้โดยมีสิ่งเร้ามาเชื่อมโยงทำให้เกิดการตอบสนองขึ้น แบ่ง 2 กลุ่ม • ทฤษฎีความเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Connectionism) นักทฤษฎี Thorndike ,Guthrie ,Hull • ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning) แบบคลาสสิค (Classical) ได้แก่ Pavlov แบบการกระทำ (Operant) ได้แก่ Skinnre 1. ทฤษฎีความเข้าใจ (สนาม) ได้แก่ Gestalt - เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer) - คอฟกา (Kurt Kofga) - เลอวิน (Kurt Lewin) - โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) ทฤษฎีเชื่อมโยง Thorndike หรือเรียกว่า ทฤษฎีลองผิดลองถูก (Trial and Error) ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง การทดลอง เอาแมวหิวใส่กรง สิ่งเร้า S R2 S R R3 การตอบสนอง กฎการเรียนรู้ 3 กฎ 1. กฎแห่งผล (Law of Effect) คือ การเรียนรู้จะเกิดผลดีถ้ามีการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองในลักษณะที่พอใจ 2. กฎแห่งการฝึก (Law of Exercise) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่ออินทรีย์ได้รับการฝึกฝนบ่อยครั้ง 1. กฎแห่งการใช้ (Law of Used) มีการกระทำหรือใช้บ่อย ๆ การเรียนรู้จะยิ่งคงทนถาวร 2. กฎแห่งการไม่ใช้ (Law of Disused) ไม่มีการกระทำหรือไม่ใช้การเรียนรู้ก็อาจเกิดการลืมได้ 3. กฎแห่งความพร้อม ((Law of Leadines)การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน หลักการที่สำคัญของทฤษฎีนี้ ถือว่า รางวัลเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ วิธีการให้รางวัลสมควรให้ผู้เรียนให้ทันทีที่ได้กระทำพฤติกรรมนั้น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบการกระทำ (Skinner’ s Operant Conditioning) การทอลอง เอนหนูใส่กล่องเก็บเสียงฝากล่องมีคานยื่นมา เมื่อหนูกดคานจะบังคับอาหารให้หล่นลงมา หนูต้องทำจึงได้รับ R (การกดคาน) S (อาหาร) การเสริมแรง เป็นหลักในการนำมาสร้างบทเรียนโปรมแกรม หรือบทเรียนสำเร็จรูป (จะมีคำถามและคำตอบ) ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ของ Pavlov การทดลอง เอาหมาที่กำลังหิวยืนบนแท่นมีที่รั้งไม่ให้สุนัขเคลื่อนที่ เจาะรูเล็ก ๆ ที่แก้มเอาหลอดยาใส่ท่อน้ำลาย ผลการทดลองของ ฟาลอฟ ประกอบด้วย วางเงื่อนไข แบบแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข = การเรียนรู้ ถ้าจะให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีต้องมีการวางเงื่อนไขพร้อม ๆ กัน คือให้สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขในเวลาพร้อมกัน กฎการเรียนรู้ 4 กฎ 1. กฎการลบพฤติกรรม (Law of Extinction) การตอบสนองที่เคยปรากฏจะไม่ปรากฏถ้านำสิ่งเร้านั้นออก 2. กฎการคืนสภาพเดิม (Law of Spontaneous recovery) หลังจากที่ลบพฤติกรรมนั้นไปแล้วจะไม่เกิดพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขนั้นอีก แต่ระยะหนึ่งหรือบางครั้งก็อาจเกิดพฤติกรรมนั้นได้อีก 3. กฎการสรุปความเหมือน (Law of Generalization) ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข อินทรีย์จะตอบสนองเหมือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น 4. กฎการจำแนกความแตกต่าง (Law of Discrimination) เป็นลักษณะที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะสิ่งที่แตกต่างกันได้เช่น งูเห่ามีพิษ งูสิงห์ไม่มีพิษ ฉะนั้นหลักการสำคัญ Classical Conditioning จะเน้นปฏิกิริยาสะท้อนของมนุษย์ที่เกิดขึ้น และนำเอาปฏิกิริยาสะท้อนเหล่านั้นมาวางเงื่อนไขคู่กับ สิ่งเร้าต่าง ๆ สิ่งเร้าต่าง ๆ จะทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ขึ้น กฎการเรียนรู้ของกลุ่ม กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology) การเรียนรู้เรียนที่เน้นส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ 1. การรับรู้ (Perception) การแปลความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัส 5 ส่วน หู- ตา – จมูก – ลิ้น – กาย 2. การหยั่งเห็น (Insight) การเกิดความคิดขึ้นมาทันทีทันใดในขณะประสบปัญหา โดยการมองเห็นปัญหาตั้งแต่เริ่มแรก จนแก้ปัญหาได้ สรุปแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์ แต่ละท่านได้ดังนี้ 1. การเรียนรู้แบบหยั่งรู้ (Insight Learning) เจ้าของทฤษฎีคือ โคเลอร์ (Wolfgang Kohler) โดยจะรวมปัญหาแล้วจึงแยกเป็นข้อย่อย ก็จะเกิดความคิดขึ้นมาทันที ที่เรียกว่าการหยั่งเห็น การหยั่งเห็นจะเกิดขึ้นรวดเร็วขึ้นอยู่กับ 1. มีแรงจูงใจ , 2. มีประสบการณ์เดิม ,3.มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับปัญหาได้ 2. หลักการเรียนรู้ของ เลอวิน (Kurt Lewin) ได้แยกมาตั้งทฤษฎีใหม่ ชื่อว่า ทฤษฎีสนาม (Field Theory) การเรียนรู้เกิดจากการสร้างแรงขับให้เกิดขึ้น แล้วพยายามชักนำพฤติกรรมการเรียนรู้ไปจุดหมายปลายทาง (goal) เพื่อตอบสนองแรงขับที่เกิดขึ้น

3. เทคโนโลยีการศึกษาช่วยพัฒนาประเทศอย่างไร


ตาม พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีข้อความที่บ่งบอกถึงการให้ความสำคัญและส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างชัดเจนรวมทั้งเน้นให้เป็นไป อย่างเสรีถ้ามองในแง่บวกก็จะเป็นเรื่องน่าพอใจ เพราะใครต่อใครต่างก็เข้าใจและเชื่อมั่นในศักยภาพและพลังของสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยีมีตัวอย่างที่ผู้เขียนเองก็สามารถ นำเสนอเป็นเครื่องสนับสนุนความจริงดังกล่าวได้มาก แต่ในที่นี้จะขอละไว้ในฐานะที่พูดถึงกันมากอยู่แล้ว ในทางกลับกันจะขอมองในมุมลบบ้าง เพราะการมองเทคโนโลยี ซึ่งเป็นดาบหลายคมนั้น ถ้ามองไม่ครบถ้วนเห็นไม่ชัดเจนทั่วถึงตามที่เป็นจริง ศักยภาพอันสูงยิ่งของเทคโนโลยีก็จะเป็นเครื่องทำลายล้างสิ่งที่ดีๆที่เรามีอยู่ได้อย่างรวดเร็ว และมากมายได้เช่นกัน
เทคโนโลยีสมัยใหม่ (Advanced Technology) โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่า IT (Information Technology) เป็นสิ่งที่พูดถึงกันมาก ว่าจะช่วยให้การพัฒนาหรือ การปฏิรูปการศึกษาสำเร็จเป็นจริงขึ้นมาได้ อยากให้ทบทวนดู ว่าเทคโนโลยีคืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร พัฒนามาอย่างไร และแนวโน้มหรือทิศทางของมันจะเป็นแบบไหนต่อไป
ถ้าย้อนไปถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป การคิดค้นเทคโนโลยีเช่นเครื่องจักรกลต่างๆก็เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้มนุษย์ทำงานได้สะดวกสบายมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตของระบบอุตสาหกรรมออกมามากจนล้นเหลือ ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่สูงขึ้นก็ยิ่งทำให้ผลผลิตซึ่งมีรากเหง้ามาจากการทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติของโลก ไม่ว่าจะมาจากภูมิภาคใดก็ตาม มีปริมาณมากเกินความจำเป็นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กระบวนการแห่งการยัดเยียดความจำเป็นปลอมๆ
ให้กับมนุษย์ด้วยกันก็เกิดขึ้นและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบการสื่อสารที่รวดเร็วและทันสมัย เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ ยั่วยุ กระตุ้น โดยอาศัยจุดอ่อนและปมด้อยของคนส่วนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมักจะหวาดกลัวและสะดุ้งได้ง่ายมากเมื่อถูกมองหรือกล่าวหาว่าเชย ล้าหลัง หรือไม่ทันสมัย เมื่อถูกยั่วยุก็จะรีบดิ้นรน แสวงหา ไขว่คว้าผลผลิตอันหลากหลายของระบบอุตสาหกรรม มาบริโภคหรือครอบครองกันได้ง่ายมาก มีการแข่งขันกันด้วย แข่งขันกันเป็นผู้บริโภคซึ่งหลายครั้งบริโภคมากและเร็วกว่าเจ้าของเทคโนโลยีเสียอีก ใช้สติปัญญากันหรือไม่แค่ไหน ก็ให้ลองไตร่ตรองกันดูเถิด
เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งทั่วไปจะหมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ต จะเห็นได้ว่ามีการบ่งชี้คุณประโยชน์และบทบาทที่จะมีต่อการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นอันมาก แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง หากมองย้อนหลังสักหน่อย จะพบว่าเราเริ่มจาก การไม่มี อยากมี แล้วได้มี ติดตามด้วยใช้ไม่ค่อยเป็น แล้วก็ใช้เป็นกันมากขึ้น แต่ได้ประโยชน์ มีแก่นสารสาระหรือไม่เป็นเรื่องน่าคิด ส่วนมากจะเข้าลักษณะใช้เป็น แต่ไม่ค่อยได้ประโยชน์ ดูที่กลุ่มเยาวชนของชาติก็แล้วกันว่าเขากำลังทำอะไรกันอยู่กับอินเตอร์เน็ต เสียเวลาและทรัพยากรไปเท่าไร และได้อะไรตอบแทนกลับมส่วนมากจะเข้าข่ายไร้สาระใช่หรือไม่ ยุคนี้จึงเริ่มคิดอ่านกันมากว่าจะทำอะไร
หลายอย่างให้คนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวได้มากขึ้น มีการสืบค้นสาระความรู้จากอินเตอร์เน็ต มีการส่งเสริมเติมความรู้ภาษาอังกฤษเพื่อจะช่วยให้ การแสวงหาความรู้หรือการสืบค้นข้อมูล เป็นไปอย่างคล่องตัวทั่วถึง ภาพที่นักเรียนนักศึกษาหรือคนไทยทั่วๆไปนั่งกดปุ่มสืบค้นความรู้อันมากมายมหาศาล อยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์อาจทำให้หลายคนปลื้มใจพอใจ แต่สำหรับผู้เขียนมีความคิดอีกอย่างแทรกเข้ามาและคิดว่าน่าสนใจนั่นคือ ตัวความรู้ที่หลงสืบค้นแสวงหากันอยู่นั้นเป็นความรู้ประเภทไหนจะนำมาใช้ประโยชน์แก้ปัญหาของตนและสังคมได้หรือไม่และเมื่อไร มีไม่น้อยที่เป็นการแสวงหาความรู้ของผู้อื่นอย่างเมามันและอาจถึงขั้นไร้เป้าหมาย เพราะเสน่ห์อย่างหนึ่งของอินเตอร์เน็ตคือการเชื่อมโยงต่อไปได้แบบไร้จุดจบและแสนสะดวกง่ายดาย เรียกได้ว่าเป็นสื่อมหัศจรรย์ชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
ในที่สุด มันน่าภูมิใจมากนักหรือที่คนของเราหลงเพลิดเพลินอยู่กับความรู้ดังกล่าว เพราะแท้จริงเรื่องการเรียนรู้นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้
แง่คิด ชี้แนะไว้นานแล้วว่ามีอยู่ 3 อย่าง คือ เรียนรู้ความคิดความรู้ของผู้อื่น เรียนรู้จากการขบคิดพิจารณาด้วยเหตุผลของตนเอง และเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติฝึกฝนจนคล่องแคล่วชำนาญ ถ้าการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ทำไปอย่างบุ่มบ่าม คิดอ่านกันอย่างไม่รอบคอบและระมัดระวัง อีกไม่ช้าก็คงได้เห็นเปลือกของเทคโนโลยีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ผู้คนอันเป็นผลผลิตของระบบการศึกษา อาจกลายเป็นนักบริโภคที่ยิ่งใหญ่ ซื้อเก่ง เชื่อง่าย คิดไม่เป็น แก้ปัญหาไม่ได้ อ่อนแอลงเรื่อยๆ สิ่งที่ควรแสวงหาและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติจริงให้มากและกว้างขวางยิ่งขึ้นคือ การใช้ "เทคโนโลยีที่เหมาะสม "ซึ่งผู้เขียนเองภาคภูมิใจที่มีส่วนสร้างสรรค์บางอย่างที่เข้าข่ายดังกล่าว และกำลังเผยแพร่อยู่ ถ้ามองกันให้ดี ๆ และทั่วถึง จะพบว่ายังมีความรู้ ความคิด และสิ่งดีมีคุณค่ากระจัดกระจายอยู่อีกมาก ปัญหาน่าคิดคือ ใครหรือองค์กรใด จะเป็นผู้ริเริ่มรวบรวมพลังและศักยภาพของภูมิปัญญาไทยเหล่านั้นให้เป็นกลุ่มก้อน ส่งเสริมเผยแพร่ให้กว้างขวางและทันการณ์

4. สื่อการสอนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างไร

เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน 2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
• ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
• ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
• ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
• ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
• ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
• นำอดีตมาศึกษาได้
• นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น เมื่อทราบความสำคัญของสื่อการสอนดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการก็คือ ประเภท หรือชนิดของสื่อการสอน

เทคโนโลยีการศึกษากับสื่อการสอน

สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจรทัศ
เทคโนโลยีการศึกษาเมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีการศึกษา ส่วนมากเรามักจะนึกถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ราคาแพง เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ แต่ที่จริงแล้วเทคโนโลยี การศึกษาตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ซึ่งเน้นระบบการนำวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นน์(Concept) เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา
1.เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ) กับเทคโนโลยีทางการช่างหรือวิศวกรรม เช่น เครื่องฉายต่าง ๆ เครื่องบันทึกเสียง วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับการเรียนเป็นกลุ่มหลักการและทฤษฎีที่มีผลต่อเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะนี้คือ เรื่องของโสตทัศนะ (Audiovisual) และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ ฟิล์มสตริป สไลด์ เป็นต้น ในลักษณะของสื่อที่ไม่ใช่ตัวหนังสือ (Non-verbal roles)
2.เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Concept) เป็นการปฏิบัติการทางการศึกษาที่มีอิสระภายใต้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีการปรับปรุง โดยนักพฤติกรรมศาสตร์สาขาจิตวิทยามานุษยวิทยา สังคมวิทยา และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา เช่น จิตวิทยาการเรียนรู้ กระบวนการกลุ่มภาษาศาสตร์ การสื่อสาร การบริหาร ระบบ ชีวภาพ การรับรู้และการวัดทางจิต

ความแตกต่างในความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาทั้ง 2 ทัศนะ ที่ได้กล่าวแล้ว จะเน้นความสำคัญที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ เทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะความคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพนั้น เน้นความสำคัญของเครื่องมือ (hardware) เช่น เครื่องฉายต่าง ๆ เทปบันทึกเสียง เป็นต้น และสื่อในการติดต่อสื่อสารเพื่อแก้ปัญหา Verbalism เป็นสำคัญโดยไม่ค่อยจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนส่วนทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์นั้นพิจารณาเทคโนโลยีในเชิงปฏิบัติให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของมนุษย์โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นแกนกลางสำคัญ แนวความคิดนี้พยายามทำความเข้าใจและศึกษาว่ามนุษย์เรียนรู้ได้อย่างไร และนำ ความรู้ตลอดจนวิธีการทางวิทยาศาสตร์และเครื่องมือเข้าไปประยุกต์แก้ปัญหาหรือเสริมสร้างการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีการศึกษาส มัยใหม่จะผสมผสานแนวความคิดของนักเทคโนโลยีการศึกษาทั้ง 2 กลุ่มมาใช้ คือ พยายามสร้างสื่อ เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนเป็นหลักงานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษางานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา
􀁺 งานกราฟิก
􀁺 งานถ่ายภาพ
􀁺 งานด้านระบบเครื่องเสียง
􀁺 ระบบเครื่องฉาย
􀁺 งานด้านสื่อมวลชน
􀁺 สิ่งพิมพ์
􀁺 ภาพยนตร์
􀁺 วิทยุกระจายเสียง
􀁺 โทรทัศน์
􀁺 งานด้านระบบโทรคมนาคม
􀁺 งานด้านการศึกษาทางไกล
􀁺 ด้านการศึกษารายบุคคล
ที่มา : http://www.pteonline.org/img-lib/staff/file/supreeya_000473.pdf



เพลงบรรเลง

ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ